Welcome to Bank of Ayudhya Public Company Limited

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555


กรุงศรีคว้ารางวัลบริการโอนเงินต่างประเทศยอดเยี่ยมจากซิตี้แบงก์ ตอกย้ำมาตรฐานสูงสุดในบริการด้านเงินโอน
(20 สิงหาคม 2555)


      นายพรสนอง ตู้จินดา ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้าน Transformation และลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด รับรางวัลจากนายดาเรน บัคลีย์ ผู้จัดการใหญ่และหัวหน้าธุรกิจลูกค้าองค์กร ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย จากการที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยาได้คะแนนสูงสุดในปี 2011ในด้านประสิทธิภาพการบริการโอนเงินต่างประเทศยอดเยี่ยม ทั้งนี้ถือเป็นการได้รับรางวัลนี้ติดต่อกันเป็นปีที่ 4 ในด้าน Commercial Payment in MT103 นอกจากนี้ธนาคารกรุงศรีอยุธยายังเป็นธนาคารแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับรางวัลด้าน Treasury Payment in MT202 จากธนาคารซิตี้แบงก์ในปี 2011 โดยทั้งสองรางวัลดังกล่าวนับเป็นการยืนยันความสำเร็จในการบริการด้านเงินโอนด้วยมาตรฐานและการบริการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดของธนาคาร


วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

5.ความรับผิดชอบต่อสังคม
    
ทำความดี...ทำอย่างตั้งใจ   และเรียบง่าย
        66 ปีแห่งการคนกำไรสู่สังคมไทยจัดสรรทนการศึกษาให้แก่เยาวชนที่ด้อยโอกาส 15 คน ได้เรียน
ต่อถึงชั้นอุดมศึกษาสนับสนุนบริการตรวจมะเร็งเต้านมโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายให้กับหญิงด้อยโอกาสกว่า
250 คนพนักงานกรุงศรีร่วมกันบริจาคโลหิตรวมทั้งสิ้น   มากกว่า840,000 ซีซี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล        เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษาบริจาคคอมพิวเตอร์จำนวน 370
เครื่อง ให้แก่นักเรียนในจังหวัดบุรีรัมย์พนักงานและลูกค้ากรุงศรีรวมกันบริจาคเงินกว่า 8 ล้านบาท
เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในประเทศไทยและผู้ประสบภัยพิบัติสนามในประเทศญี่ปุ่น
สนับสนุนมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง โดยการสร้างฝายทดนากว่า 50,000 ฝาย บนดอยตุงเพื่อรักษาแหล่งต้นน้ำ
เป็นเวลากว่า 60 ปีที่คนไทยได้รู้จักกรุงศรี ในฐานะสถาบันการเงิน ชั้นนำที่ น่าเชื่อถือ เรามุ่งมั่นที่ จะเติบโตอย่างยั่งยืนและทำให้เรื่องเงิน เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน เราพร้อมที่ จะสร้างเสริมศักยภาพขององค์กรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ และในขณะเดียวกัน รักษาสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ด้วยการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม
ตลอดระยะเวลา ๖๖ ปีที่ผ่านมา ธนาคารกรุงศรีอยุธยาเป็นที่รู้จักในฐานะธนาคารที่ให้บริการด้วยความซื่อสัตย์ ความอบอุ่น และมากด้วยความรู้ในวิชาชีพ ธนาคารให้ความสำคัญต่อการยึดหลักบรรษัทภิบาลในการกำกับดูแลกิจการ โดยปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบของธนาคาร พร้อมทั้งตระหนักดีว่าการเป็นธนาคารที่ดีนั้นมิใช่เพียงการดำเนินกิจการด้วยความซื่อสัตย์ หากแต่ยังต้องเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมด้วย ธนาคารจึงจัดทำโครงการเพื่อสังคมมากมายขึ้นเพื่อสร้างสรรค์ประโยชน์ในแง่มุมที่แตกต่างให้แก่สังคม
โครงการอนุรักษ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดบ้านเกิดของธนาคาร

       ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มีบทบาทโดดเด่นในการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมประจำชาติ และมีความเชื่อมั่นในความพยายามของธนาคารที่จะช่วยสานต่อศิลปะและวัฒนธรรมให้ถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นใหม่ผ่านทางรายการโทรทัศน์ จดหมายเหตุกรุงศรีรวมไปถึงการจัดพิธีทอดกฐินพระราชทานและโครงการล่าสุดที่ธนาคารริเริ่มขึ้น คือโครงการอนุรักษ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นเมืองประวัติศาสตร์และมรดกโลกที่ได้รับผลกระทบมากมายจากอุทกภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่
      เมื่อช่วงปลายปี 2554 ที่ผ่านมา กรุงศรีกรุ๊ปได้มอบเงินสนับสนุนการเพื่อฟื้นฟูและปรับปรุงโบราณสถานในจ.อยุธยาให้กรมศิลปากรจำนวน 3.9 ล้านบาทโดยเงินสนับสนุนจำนวนนี้จะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกจะนำไปฟื้นฟูบูรณะเจดีย์วัดสามปลื้ม ซึ่งตั้งอยู่กลางสี่แยกใจกลางจ.อยุธยา ซึ่งนอกจากจะมีสภาพภายนอกที่ทรุดโทรมแล้ว เหตุการณ์น้ำท่วมยังสร้างความเสียหายต่อโครงสร้างภายในและอาจทำให้ตัวเจดีย์ทรุดลงได้ ส่วนที่สอง จะถูกจัดสรรเพื่อนำไปจัดทำป้ายบรรยายความเป็นมาของโบราณสถานแต่ละแห่ง จำนวน 139 ป้ายสำหรับโบราณสถานทั้งหมด 35 แห่ง เพื่อทดแทนป้ายเดิมที่ทรุดโทรมและเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วม

- กรุงศรีกรุ๊ปอาสาทำความดีเพื่อจังหวัดบ้านเกิด
        วัดวรเชษฐ์เทพบำรุง หรือวัดวรเชษฐ์นอก โบราณสถานสำคัญในความดูแลของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับความเสียหายในช่วงน้ำท่วม ดังนั้นเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2554 ที่ผ่านมา อาสาสมัครชาวกรุงศรีกว่า 120 คนจากธนาคารและบริษัทในเครือ จึงได้ร่วมกันทำกิจกรรมดีๆ ส่งท้ายปี 2554 ด้วยการร่วมกันทำความสะอาดตัวโบราณสถาน

        คุณชัยนันท์ บุษยรัตน์ ผ.อ.อุทยานฯ ได้กล่าวแสดงความขอบคุณจากใจจริงในแรงกายแรงใจของอาสาสมัครทุกคนที่มาร่วมกันทำความดีในครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นโครงการนำร่องในการฟื้นฟูจ.อยุธยา โดยในลำดับต่อไป กรุงศรีจะดำเนินการบูรณะเจดีย์วัดสามปลื้ม และจัดทำป้ายบรรยายประวัติตามโบราณสถานต่างๆ ทั่วจ.อยุธยา

โครงการกรุงศรีรอบรู้เรื่องเงิน จุดประกายความเข้าใจเรื่องบริหารเงิน เริ่มที่เยาวชนอาชีวะ
        ผ่านไปแล้วกับครึ่งแรกของปีการศึกษา 1/2555 ในโครงการกรุงศรีรอบรู้เรื่องเงิน ซึ่งอาสาสมัครชาวกรุงศรีได้ร่วมมอบความรู้ทางการเงินให้กับน้องๆ ปวส. ชั้นปีสุดท้าย ซึ่งเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา น้องๆ 120 คนจากวิทยาลัยพณิชยการธนบุรีและเชตุพนก็ได้ผ่านการอบรมครบทั้งหลักสูตรและได้รับใบประกาศนียบัตรไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
       เพื่อให้ความรู้ในเรื่องการเงินส่วนบุคคลแก่นักเรียนในระดับอาชีวะที่กำลังศึกษาอยู่ในปีสุดท้าย โดยมีอาสาสมัครพนักงานของกรุงศรีกรุ๊ปเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้โดยหลักสูตรที่จัดทำขึ้นนั้นเพื่อปลูกฝังความรู้ด้านพื้นฐานการเงิน และทักษะในการกู้และการออมเงินอย่างมีความรับผิดชอบ หลักสูตรดังกล่าวประกอบไปด้วยความรู้พื้นฐานด้านการเงิน ๕ ส่วน ได้แก่
ใช้เงินอย่างชาญฉลาด
ทำอย่างไรให้ได้งาน ทำอย่างไรให้ได้เงินเดือนขึ้น
เป็นเถ้าแก่ง่ายนิดเดียว
เก็บเงินให้พอเพียงและทำเงินให้งอกงาม
เอาตัวรอดในทุ่งดอกเบี้ย

       กรุงศรีกรุ๊ปได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในการจัดทำโครงการเพื่อให้ความรู้พื้นฐานด้านการเงิน โดยอาสาสมัครพนักงานธนาคารได้ร่วมกันอุทิศเวลาเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียน และเพื่อทำให้โครงการนี้ดำเนินไปได้อย่างยั่งยืน ธนาคารได้จัดการอบรม “Train the Trainer” ให้แก่คณาจารย์ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเพื่อให้สามารถรับหน้าที่เป็นผู้สอนต่อไปได้เมื่อมีความพร้อม
 

4.การบริหารความเสี่ยง

บริการด้านอัตราแลกเปลี่ยน
     ภายใต้ระบบอัตรา ดอกเบี้ยแบบลอยตัว (Managed Float) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อัตราแลกเปลี่ยนจะเคลื่อนไหวขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา โดยได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆรอบด้าน เช่น สภาพเศรษฐกิจ การเมือง รวมถึงปัจจัยด้านเทคนิค ดังนั้น ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกจึงต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนอย่างไม่ อาจหลีกเลี่ยงได้ ความเสี่ยงเหล่านี้สามารถส่งผลให้ธุรกิจมีกำไรหรือขาดทุนได้อย่างคาดไม่ถึง หากดำเนินธุรกิจโดยมองข้ามการบริหารความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อช่วยให้การบริหารความเสี่ยงของคุณเป็นเรื่องง่าย ธนาคารได้เตรียมเจ้าหน้าที่ไว้พร้อมให้การสนับสนุนทั้งในเรื่องของข้อมูล ข่าวสาร รวมถึงการให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด เพื่อให้คุณสามารถทราบความเคลื่อนไหวที่สำคัญ รวมทั้งแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในตลาดเงินและตลาดทุนของโลก พร้อมเสนอบริการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ และบริหารความเสี่ยงในรูปแบบต่างๆ
บริการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
ธนาคารกรุงศรีอยุธยาให้บริการรับซื้อและขายเงินตราต่างประเทศ ตามระยะเวลา ดังนี้
• Same Day Transaction ธุรกรรมซื้อขายทันที เพื่อส่งมอบในวันเดียวกัน
• Tomorrow Transaction ธุรกรรมซื้อขายเพื่อส่งมอบภายใน 1 วันทำการหลังวันที่ทำธุรกรรม
• Spot Transaction ธุรกรรมซื้อขายเพื่อส่งมอบภายใน 2 วันทำการหลังวันที่ทำธุรกรรม
โดยการดำเนินการของธนาคารด้านบริการซื้อขายเงินตราต่างประเทศนี้ เพื่อรองรับธุรกรรมของลูกค้าด้านต่างๆ สำหรับ
ผู้ส่งออก เพื่อขายตั๋วเงินสำหรับการส่งออก
ผู้นำเข้า เพื่อชำระเงินตามตั๋วเงิน หรือ L/C เพื่อการนำเข้า
การโอนเงินสกุลต่างประเทศขาเข้า เพื่อขายและเปลี่ยนเป็นเงินบาท
การโอนเงินสกุลต่างประเทศขาออก เพื่อชำระหนี้ต่างประเทศ
ซึ่งธนาคารเน้นการนำเสนอบริการที่ฉับไวทันต่อความเปลี่ยนแปลงของราคา อัตราแลกเปลี่ยนที่อิงราคาในตลาดโลก เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่าได้รับอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม ภายใต้ปัจจัยแวดล้อมที่ผันผวน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินตลอดเวลา
บริการผลิตภัณฑ์ปัองกันความเสี่ยง
     ธนาคารมีบริการปก ป้องความเสี่ยง เพื่อให้ธุรกิจสามารถบริหารความเสี่ยง (Hedging) จากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยโดยเสนอรูปแบบบริการที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าเพื่อให้สามารถบริหารต้นทุนด้านอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ โดยประกอบด้วย
Forward- ธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า โดยการแลกเปลี่ยนเงินตราจากเงินสกุลหนึ่งไปยังอีกสกุลหนึ่ง
- ส่งมอบด้วยจำนวนเงิน ระยะเวลา และอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
- สำหรับผู้ส่งออก ซึ่งมีรายรับเป็นเงินสกุลต่างประเทศและมีต้นทุนสินค้าในรูปเงินบาท การทำ ธุรกรรม Forward จะทำให้สามารถเปลี่ยนรายรับให้กลับมาอยู่ในรูปของเงินบาทและสามารถทราบรายรับที่แน่นอนสอดคล้องกับต้นทุนเงินบาทและทำให้สามารถนำไปคำนวณราคาขายสินค้าได้
- สำหรับผู้นำเข้า ซึ่งมีต้นทุนสินค้าจากการนำเข้าและต้องเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้ไม่ทราบต้นทุนที่แน่นอนการทำธุรกรรม Forward ทำให้สามารถทราบต้นทุนของสินค้าในรูปเงินบาทเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินการต่อไป
Swap-ธุรกรรมแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดรับและจ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากเงินสกุลหนึ่งไปยังเงินอีกสกุลหนึ่ง
- ส่งมอบด้วยจำนวนเงินเท่ากันตามระยะเวลา และอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
- สำหรับผู้กู้เงินตราต่างประเทศ สามารถใช้ธุรกรรม Swap แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสกุลที่กู้มาเปลี่ยนเป็นอีกสกุลหนึ่ง เช่นเงินบาท เพื่อใช้จ่ายเงินกู้ในรูปเงินบาทในประเทศ ขณะเดียวกัน ธุรกรรม Swap จะเกิดการซื้อเงินตราต่างประเทศไว้ล่วงหน้าเพื่อชำระภาระหนี้เงินกู้เงินตราต่างประเทศนั้นเมื่อเงินกู้ครบกำหนด
- ประโยชน์ที่ได้รับคือ สามารถปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน พร้อมกับสามารถคำนวณต้นทุนอัตราดอกเบี้ยในรูปเงินบาทได้อย่างชัดเจน
- สามารถใช้ธุรกรรม Swap เพื่อเปรียบเทียบทางเลือกในการกู้เงินระหว่างการกู้เงินภายในประเทศกับการกู้เงินสกุลต่างประเทศ แบบใดจะเกิดต้นทุนดอกเบี้ยต่ำกว่ากัน
Cross Currency Swap  เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในกรณีที่มีระยะเวลาในการชำระมูล หนี้มากกว่า 1 ปีโดยเหมาะสมกับลูกค้าที่ต้องการเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาประธานเดิมของมูลหนี้จากอัตราดอกเบี้ยของเงินสกุลหนึ่งมาเป็นอัตราดอกเบี้ยของเงินอีกสกุลหนึ่ง
ลักษณะและโครงสร้าง
    เป็นเครื่องมือทางการเงินที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้มีภาระเงินกู้เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศโดยต้องการแปลงภาระอัตราดอกเบี้ยตามทัศนะการคาดการณ์ทิศทางอัตราดอกเบี้ย
- เป็นข้อตกลงทางการเงินที่เป็นพันธะ ในการแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยจากอัตราดอกเบี้ยของเงินสกุลหนึ่ง เป็นอัตราดอกเบี้ยของเงินอีกสกุลหนึ่ง
- เป็นมีการส่งมอบมูลหนี้ระหว่างกันตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ตกลงกันไว้ ในวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของสัญญา
- เป็นมีการส่งมอบดอกเบี้ยระหว่างกันตามสกุลเงินและอัตราดอกเบี้ยที่ได้แลกเปลี่ยนกันไว้ ตามระยะเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา
ความเหมาะสมของธุรกรรมกับข้อมูลลูกค้า
- ลูกค้ามีกระแสเงินสด (Cash Flow) ระยะยาวเกินกว่า 1 ปีที่มีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนในปริมาณที่มีความจำเป็นต้องบริหารความเสี่ยง
- ต้องการบริหารความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย โดยมีมุมมองและการคาดการณ์ทิศทางของอัตราดอกเบี้ยที่ชัดเจน
- ลูกค้ามีพื้นฐานทางการเงินและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
- ผู้บริหารมีความรู้ ความเข้าใจในความเสี่ยง ตลอดจนมีความเข้าใจเบื้องต้นในผลิตภัณฑ์อนุพันธ์ที่นำเสนอ
ประโยชน์ที่ได้จากการทำธุรกรรม
- ผู้ซื้อจะมีความคล่องตัวในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับ Cash Flow ที่มีอายุมากกว่า 1 ปีโดยสามารถเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยของ Cash Flow จากอัตราดอกเบี้ยเงินสกุลหนึ่งตามสัญญาประธานของมูลหนี้มาเป็นอัตราดอกเบี้ยของเงินอีกสกุลหนึ่งตามที่ต้องการโดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินการน้อยกว่าการแก้ไขสัญญาประธานโดยตรง
ความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการทำธุรกรรม
- Market Risk ความเสี่ยงที่จากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน จนทำให้คู่ค้าเกิดความเสียหาย
- Credit Risk ความเสี่ยงที่คู่ค้าไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาของธุรกรรมได้
- Operation Risk ความเสี่ยงที่เกิดจากการขาดความรู้ ความเข้าใจในรายละเอียดและเงื่อนไขของธุรกรรมรวมถึงการขาดการติดตามข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างทันการณ์
- Legal Risk ความเสี่ยงที่คู่ค้าร้องเรียนต่อ ธปท. / ฟ้องร้องศาล
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของผู้ซื้อ
- การขาดความรู้ ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์อย่างเพียงพอ
- การขาดความความระมัดระวังและรอบคอบในการตรวจสอบเอกสารสัญญาก่อนการลงนาม
- การประสานงานภายในระหว่างคู่สัญญาในวันที่จะต้องมีการส่งมอบดอกเบี้ยระหว่างกันตามสัญญา จากความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน
- ผู้ซื้อมีการทำธุรกรรมเกินปริมาณของ Cash Flow ที่มีจริง
- อัตราดอกเบี้ยมีความผันผวนและการประเมินสถานการณ์ แนวโน้มและทิศทางของอัตราดอกเบี้ยผิดพลาดจนก่อให้เกิดความเสียหาย
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของผู้ขาย
- การให้ข้อมูลความรู้ ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์แก่ผู้ซื้อยังมีไม่เพียงพอ
- การขาดความความระมัดระวังและรอบคอบในการตรวจสอบเอกสารสัญญาก่อนการลงนาม
- ความผิดพลาดในการออกเอกสารสัญญา
- การบริหารจัดการเพื่อรองรับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในสถานการณ์ที่อาจมีปัจจัยภายนอก ซึ่งเกิดวิกฤติในตลาดเงินและตลาดทุนและมีความเสียหายเกิดขึ้น
- การขาดการตรวจสอบเอกสารหรือแจ้งให้คู่ค้าทราบถึงปริมาณ Cash Flow ว่าจะต้องมีอย่างเพียงพอต่อการทำธุรกรรม
- การขาดขาดการพิจารณาถึงตัวบุคคล ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจทำธุรกรรม (ต้องเป็นระดับผู้รับผิดชอบสูงสุดด้านการเงินของนิติบุคคล)
เอกสารสัญญา
เอกสารที่ต้องลงนามก่อนทำธุรกรรม
- ISDA ( International Swaps and Derivatives Association )
หนังสือแต่งตั้งตัวแทนใน การทำธุรกรรม
คำเตือน
- สัญญา Cross Currency Swap เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนโดยเป็นธุรกรรมที่เป็นพันธะที่จะต้องยึดถือปฏิบัติ ผู้ทำสัญญาธุรกรรม Cross Currency Swap จึงควรศึกษาและทำความเข้าใจในผลิตภัณฑ์นี้อย่างละเอียดก่อนการประกอบธุรกรรมโดยสามารถติดต่อโดยตรงกับเจ้าหน้าที่กลุ่มการขายผลิตภัณฑ์การบริหารการเงิน ฝ่ายบริหารการเงินของธนาคาร ที่โทรศัพท์หมายเลข 02-2964361-70 หรือ www. krungsri.com
Interest Rate Swap
    เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยอีกทางเลือกหนึ่งที่มีระยะเวลาในการชำระคืนมูลหนี้เกินกว่า 1 ปีโดยมีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับลูกค้าที่ต้องการเปลี่ยนลักษณะของอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาประธานเดิมของมูลหนี้จากอัตราดอกเบี้ยลอยตัวมาเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่หรือจากอัตราดอกเบี้ยคงที่มาเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวโดยจะมีความคล่องตัวมากขึ้นและต้นทุนของการทำธุรกรรมน้อยกว่าการเปลี่ยนแปลงสัญญาประธานโดยตรง
ลักษณะและโครงสร้าง
- เป็นเครื่องมือทางการเงินที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงสำหรับผู้มีภาระเงินกู้ในสกุลเงินเดียวกันโดยต้องการแปลงภาระดอกเบี้ยตามทัศนะการคาดการณ์ทิศทางอัตราดอกเบี้ย
- เป็นข้อตกลงทางการเงินที่เป็นพันธะในการแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยจากอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่หรือจากอัตราดอกเบี้ยคงที่เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวของเงินสกุลเดียวกัน
- ไม่มีการส่งมอบมูลหนี้ระหว่างกัน
- มีการส่งมอบดอกเบี้ยระหว่างกันตามอัตราดอกเบี้ยที่ได้แลกเปลี่ยนกันไว้ และระยะเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา
ความเหมาะสมของธุรกรรมกับข้อมูลลูกค้า
- ลูกค้ามีกระแสเงินสด (Cash Flow) ที่มีอายุเกินกว่า 1 ปีและมีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยในปริมาณที่มีความจำเป็นต้องบริหารความเสี่ยง
- ต้องการบริหารความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย โดยมีมุมมองและการคาดการณ์ทิศทางของอัตราดอกเบี้ยที่ชัดเจน
- ลูกค้ามีพื้นฐานทางการเงินและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
- ผู้บริหารมีความรู้ ความเข้าใจในความเสี่ยง ตลอดจนมีความเข้าใจเบื้องต้นในผลิตภัณฑ์อนุพันธ์ที่นำเสนอ
ประโยชน์ที่ได้จากการทำธุรกรรม
- ผู้ซื้อจะมีความคล่องตัวในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยโดยสามารถเปลี่ยนแปลงลักษณะของอัตราดอกเบี้ยจากสัญญาประธานของมูลหนี้ (จากอัตราดอกเบี้ยคงที่เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวหรือจากอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่)โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินการน้อยกว่าการแก้ไขสัญญาประธานโดยตรง
ความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการทำธุรกรรม
- Market Risk ความเสี่ยงที่จากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย จนทำให้คู่ค้าเกิดความเสียหาย
- Credit Risk ความเสี่ยงที่คู่ค้าไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาของธุรกรรมได้
- Operation Risk ความเสี่ยงที่เกิดจากการขาดความรู้ ความเข้าใจในรายละเอียดและเงื่อนไขของธุรกรรมรวมถึงการขาดการติดตามข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างทันการณ์
- Legal Risk ความเสี่ยงที่คู่ค้าร้องเรียนต่อ ธปท. / ฟ้องร้องศาล
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของผู้ซื้อ
- การขาดความรู้ ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์อย่างเพียงพอ
- การขาดความความระมัดระวังและรอบคอบในการตรวจสอบเอกสารสัญญาก่อนการลงนาม
- การประสานงานภายในระหว่างคู่สัญญาในวันที่จะต้องมีการส่งมอบดอกเบี้ยระหว่างกันตามสัญญา จากความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน
- ผู้ซื้อมีการทำธุรกรรมเกินปริมาณของ Cash Flow ที่มีจริง
- อัตราดอกเบี้ยมีความผันผวนและการประเมินสถานการณ์ แนวโน้มและทิศทางของอัตราดอกเบี้ยผิดพลาดจนก่อให้เกิดความเสียหาย
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของผู้ขาย
- การให้ข้อมูลความรู้ ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์แก่ผู้ซื้อยังมีไม่เพียงพอ
- การขาดความความระมัดระวังและรอบคอบในการตรวจสอบเอกสารสัญญาก่อนการลงนาม
- ความผิดพลาดในการออกเอกสารสัญญา
- การบริหารจัดการ เพื่อรองรับความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยในสถานการณ์ที่อาจมีปัจจัยภายนอก ซึ่งเกิดวิกฤติในตลาดเงินและตลาดทุนและมีความเสียหายเกิดขึ้น
- การขาดการตรวจสอบเอกสารหรือแจ้งให้คู่ค้าทราบถึงปริมาณ Cash Flow ว่าจะต้องมีอย่างเพียงพอต่อการทำธุรกรรม
- ขาดการพิจารณาถึงตัวบุคคล ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจทำธุรกรรม (ต้องเป็นระดับผู้รับผิดชอบสูงสุดด้านการเงินของนิติบุคคล)
เอกสารที่ต้องลงนามก่อนทำธุรกรรม
- ISDA ( International Swaps and Derivatives Association )
หนังสือแต่งตั้งตัวแทนใน การทำธุรกรรม
คำเตือน
- สัญญา Interest Rate Swap เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยโดยเป็นธุรกรรมที่เป็นพันธะที่จะต้องยึดถือปฏิบัติ ผู้ทำสัญญาธุรกรรม Interest Rate Swap จึงควรศึกษาและทำความเข้าใจในผลิตภัณฑ์นี้อย่างละเอียดก่อนการประกอบธุรกรรมโดยสามารถติดต่อโดยตรงกับเจ้าหน้าที่กลุ่มการขายผลิตภัณฑ์การบริหารการเงิน ฝ่ายบริหารการเงินของธนาคาร ที่โทรศัพท์หมายเลข 02-2964361-70 หรือ www. krungsri.com
 
 

3.ผลิตภัณฑ์หลัก

ผลิตภัณฑ์เงินฝาก
เงินฝากกระแสรายวัน
เงินฝากออมทรัพย์
เงินฝากออมทรัพย์ มีแต่ได้ ดอกเบี้ยสูง 2.9%*
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษ
บัญชีออมทรัพย์ทั่วไป
บัญชีออมทรัพย์กรุงศรี ทีนพลัส
เงินฝากประจำ
บัญชีฝากประจำทั่วไป
บัญชีฝากประจำกรุงศรี ทีนพลัส
เงินฝากประจำกรุงศรี ปลอดภาษี 24 เดือน
เงินฝากประจำกรุงศรี เซฟเวอร์ พลัส
บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ
บริการเบิกถอนบัญชีกระแสรายวันต่างสาขา(Cheque Express)
บริการรับฝากเช็คเคลียริ่ง 15.00 น.
ระบบเคลียริงเช็คแบบใหม่ด้วยภาพเช็ค
Krungsri Youth Savings
ผลิตภัณฑ์บัตร
บัตรเอทีเอ็ม
บัตรกรุงศรี เอทีเอ็ม
บัตร ATM-FCD
บัตรเดบิต
บัตรกรุงศรี เดบิต "All ATMs"
บัตรกรุงศรี เดบิต "No Annual Fee"
บัตรกรุงศรี เดบิต เฟิร์สช้อยส์
บัตรเดบิต แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
บัตรกรุงศรี เดบิต พร้อม
บัตรเครดิต
บัตรเครดิต กรุงศรี
บัตรเครดิต เทสโก้ วีซ่า
เซ็นทรัล เครดิต คาร์ด
ซิมเพิล วีซ่า คาร์ด
บัตรกรุงศรี วีซ่า เฟิร์สช้อยส์
บัตรเครดิต อยุธยาคาร์ด เซอร์วิสเซส
บัตรของขวัญ กรุงศรี
สินเชื่อ
สินเชื่อบ้านกรุงศรี
สินเชื่อบ้านกรุงศรี เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย
สินเชื่อบ้านกรุงศรี Doctor Group เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย
สินเชื่อบ้านกรุงศรีเพื่อบ้านมือสอง
สินเชื่อบ้านกรุงศรีรีไฟแนนซ์
สินเชื่อบ้านกรุงศรีเพื่อปลูกสร้างบ้าน
สินเชื่อกรุงศรีโฮมฟอร์แคช
สินเชื่อกรุงศรีเงินฝากค้ำ
สินเชื่อบุคคล
สินเชื่อบุคคลกรุงศรี
สินเชื่อบุคคลกรุงศรี - Payroll Package
สินเชื่อหมุนเวียนส่วนบุคคล
ยิ้มรับความสุขได้ทันที กับดอกเบี้ยเบา ๆ
สินเชื่อบุคคล หลักทรัพย์ไม่ต้องวงเงินเป็นล้าน
วงเงินสำรองพร้อมใช้
สินเชื่อบุคคลกรุงศรี สไมล์ แคช ไลน์
สินเชื่อสวัสดิการ
สินเชื่อสวัสดิการเงินกู้อเนกประสงค์ส่วนบุคคล
สินเชื่อสวัสดิการเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค
สินเชื่อสวัสดิการสำหรับสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
สินเชื่อรถยนต์
กรุงศรีออโต้
ศรีสวัสดิ์ เงินติดล้อ
 
 
2.โครงสร้างการดำเนินงาน (สำนักงานใหญ่และสาขา) พร้อมผู้ถือหุ้น

คณะกรรมการธนาคาร
1.นายวีระพันธุ์ ทีปสุวรรณ  ประธานกรรมการ
2.นายมาร์ค จอห์น อาร์โนลด์  กรรมการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่
3.นายสุรชัย พฤกษ์บำารุง  กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ
4.นายการุณ กิตติสถาพร  กรรมการอิสระ ประธานกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน
5.นายวิรัช ไพรัชพิบูลย์  กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ กรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน
6.นายพรสนอง ตู้จินดา กรรมการ
7.นางเจนิส แร แวน เอ็กเคอเรน  กรรมการ
8.นายพงศ์พินิต เดชะคุปต์  กรรมการ
9.นายเดส โอ เชร์ *  กรรมการ
10.นายวิโรจน์ เศรษฐปราโมทย์  กรรมการ
11.นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช กรรมการ
12.นางสาวนพพร ติรวัฒนกุล กรรมการ
* ลาออกจากตำแหน่งกรรมการ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2554

ผู้บริหารระดับสูง
1.นายมาร์ค จอห์น อาร์โนลด์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่
2.นายพรสนอง    ตู้จินดา ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้าน Transformation
3.นางเจนิส แร แวน เอ็กเคอเรน  ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน
4.นายชาลี มาดาน  ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่
5.นายภูมิชาย วัชรพงศ์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านลูกค้าธุรกิจ SME
6.นางสาวภาวนา เนียมลอย ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกฎหมาย
7.นายซูดาร์โก ฮาร์โซโน่ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านการตลาดและ Cross Sell
8.นายฟิลิป เชียง ชอง แทน ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านสินเชื่อลูกค้าบุคคล
9.นายชานดาเชการ์ สุบรามาเนี่ยน คิสชูมันการัม ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านบริหารความเสี่ยง
10.นางวรรณา ธรรมศิริทรัพย์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านปฏิบัติการ
11.นางวรนุช เดชะไกศยะ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
12.นายสยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านผลิตภัณฑ์ลูกค้าองค์กร
13.นายพงษ์อนันต์              ธณัติไตร ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านเครือข่ายการขาย
14.นางสาวอนุตตรา พานโพธิ์ทอง ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านทรัพยากรบุคคล
15.นางสาวพรรณทิพา หาญนรเศรษฐ์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านตรวจสอบ
16.นายฐากร ปิยะพันธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงาน Primary Banking กลุ่มงานลูกค้าบุคคล
17.นายกฤษณ์ จันทโนทก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานธุรกิจเงินฝากและการลงทุนและประกันภัยธนพัทธ์ กลุ่มงานลูกค้าบุคคล