บริการด้านอัตราแลกเปลี่ยน
ภายใต้ระบบอัตรา ดอกเบี้ยแบบลอยตัว (Managed Float) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อัตราแลกเปลี่ยนจะเคลื่อนไหวขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา โดยได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆรอบด้าน เช่น สภาพเศรษฐกิจ การเมือง รวมถึงปัจจัยด้านเทคนิค ดังนั้น ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกจึงต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนอย่างไม่ อาจหลีกเลี่ยงได้ ความเสี่ยงเหล่านี้สามารถส่งผลให้ธุรกิจมีกำไรหรือขาดทุนได้อย่างคาดไม่ถึง หากดำเนินธุรกิจโดยมองข้ามการบริหารความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อช่วยให้การบริหารความเสี่ยงของคุณเป็นเรื่องง่าย ธนาคารได้เตรียมเจ้าหน้าที่ไว้พร้อมให้การสนับสนุนทั้งในเรื่องของข้อมูล ข่าวสาร รวมถึงการให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด เพื่อให้คุณสามารถทราบความเคลื่อนไหวที่สำคัญ รวมทั้งแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในตลาดเงินและตลาดทุนของโลก พร้อมเสนอบริการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ และบริหารความเสี่ยงในรูปแบบต่างๆ
บริการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
ธนาคารกรุงศรีอยุธยาให้บริการรับซื้อและขายเงินตราต่างประเทศ ตามระยะเวลา ดังนี้
• Same Day Transaction ธุรกรรมซื้อขายทันที เพื่อส่งมอบในวันเดียวกัน
• Tomorrow Transaction ธุรกรรมซื้อขายเพื่อส่งมอบภายใน 1 วันทำการหลังวันที่ทำธุรกรรม
• Spot Transaction ธุรกรรมซื้อขายเพื่อส่งมอบภายใน 2 วันทำการหลังวันที่ทำธุรกรรม
• Same Day Transaction ธุรกรรมซื้อขายทันที เพื่อส่งมอบในวันเดียวกัน
• Tomorrow Transaction ธุรกรรมซื้อขายเพื่อส่งมอบภายใน 1 วันทำการหลังวันที่ทำธุรกรรม
• Spot Transaction ธุรกรรมซื้อขายเพื่อส่งมอบภายใน 2 วันทำการหลังวันที่ทำธุรกรรม
โดยการดำเนินการของธนาคารด้านบริการซื้อขายเงินตราต่างประเทศนี้ เพื่อรองรับธุรกรรมของลูกค้าด้านต่างๆ สำหรับ
• ผู้ส่งออก เพื่อขายตั๋วเงินสำหรับการส่งออก
• ผู้นำเข้า เพื่อชำระเงินตามตั๋วเงิน หรือ L/C เพื่อการนำเข้า
• การโอนเงินสกุลต่างประเทศขาเข้า เพื่อขายและเปลี่ยนเป็นเงินบาท
• การโอนเงินสกุลต่างประเทศขาออก เพื่อชำระหนี้ต่างประเทศ
• ผู้ส่งออก เพื่อขายตั๋วเงินสำหรับการส่งออก
• ผู้นำเข้า เพื่อชำระเงินตามตั๋วเงิน หรือ L/C เพื่อการนำเข้า
• การโอนเงินสกุลต่างประเทศขาเข้า เพื่อขายและเปลี่ยนเป็นเงินบาท
• การโอนเงินสกุลต่างประเทศขาออก เพื่อชำระหนี้ต่างประเทศ
ซึ่งธนาคารเน้นการนำเสนอบริการที่ฉับไวทันต่อความเปลี่ยนแปลงของราคา อัตราแลกเปลี่ยนที่อิงราคาในตลาดโลก เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่าได้รับอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม ภายใต้ปัจจัยแวดล้อมที่ผันผวน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินตลอดเวลา
บริการผลิตภัณฑ์ปัองกันความเสี่ยง
ธนาคารมีบริการปก ป้องความเสี่ยง เพื่อให้ธุรกิจสามารถบริหารความเสี่ยง (Hedging) จากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยโดยเสนอรูปแบบบริการที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าเพื่อให้สามารถบริหารต้นทุนด้านอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ โดยประกอบด้วย
- ส่งมอบด้วยจำนวนเงิน ระยะเวลา และอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
- สำหรับผู้ส่งออก ซึ่งมีรายรับเป็นเงินสกุลต่างประเทศและมีต้นทุนสินค้าในรูปเงินบาท การทำ ธุรกรรม Forward จะทำให้สามารถเปลี่ยนรายรับให้กลับมาอยู่ในรูปของเงินบาทและสามารถทราบรายรับที่แน่นอนสอดคล้องกับต้นทุนเงินบาทและทำให้สามารถนำไปคำนวณราคาขายสินค้าได้
- สำหรับผู้นำเข้า ซึ่งมีต้นทุนสินค้าจากการนำเข้าและต้องเผชิญกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้ไม่ทราบต้นทุนที่แน่นอนการทำธุรกรรม Forward ทำให้สามารถทราบต้นทุนของสินค้าในรูปเงินบาทเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินการต่อไป
Swap-ธุรกรรมแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดรับและจ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากเงินสกุลหนึ่งไปยังเงินอีกสกุลหนึ่ง
- ส่งมอบด้วยจำนวนเงินเท่ากันตามระยะเวลา และอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
- สำหรับผู้กู้เงินตราต่างประเทศ สามารถใช้ธุรกรรม Swap แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสกุลที่กู้มาเปลี่ยนเป็นอีกสกุลหนึ่ง เช่นเงินบาท เพื่อใช้จ่ายเงินกู้ในรูปเงินบาทในประเทศ ขณะเดียวกัน ธุรกรรม Swap จะเกิดการซื้อเงินตราต่างประเทศไว้ล่วงหน้าเพื่อชำระภาระหนี้เงินกู้เงินตราต่างประเทศนั้นเมื่อเงินกู้ครบกำหนด
- ประโยชน์ที่ได้รับคือ สามารถปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน พร้อมกับสามารถคำนวณต้นทุนอัตราดอกเบี้ยในรูปเงินบาทได้อย่างชัดเจน
- สามารถใช้ธุรกรรม Swap เพื่อเปรียบเทียบทางเลือกในการกู้เงินระหว่างการกู้เงินภายในประเทศกับการกู้เงินสกุลต่างประเทศ แบบใดจะเกิดต้นทุนดอกเบี้ยต่ำกว่ากัน
- ส่งมอบด้วยจำนวนเงินเท่ากันตามระยะเวลา และอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
- สำหรับผู้กู้เงินตราต่างประเทศ สามารถใช้ธุรกรรม Swap แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสกุลที่กู้มาเปลี่ยนเป็นอีกสกุลหนึ่ง เช่นเงินบาท เพื่อใช้จ่ายเงินกู้ในรูปเงินบาทในประเทศ ขณะเดียวกัน ธุรกรรม Swap จะเกิดการซื้อเงินตราต่างประเทศไว้ล่วงหน้าเพื่อชำระภาระหนี้เงินกู้เงินตราต่างประเทศนั้นเมื่อเงินกู้ครบกำหนด
- ประโยชน์ที่ได้รับคือ สามารถปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน พร้อมกับสามารถคำนวณต้นทุนอัตราดอกเบี้ยในรูปเงินบาทได้อย่างชัดเจน
- สามารถใช้ธุรกรรม Swap เพื่อเปรียบเทียบทางเลือกในการกู้เงินระหว่างการกู้เงินภายในประเทศกับการกู้เงินสกุลต่างประเทศ แบบใดจะเกิดต้นทุนดอกเบี้ยต่ำกว่ากัน
Cross Currency Swap เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในกรณีที่มีระยะเวลาในการชำระมูล หนี้มากกว่า 1 ปีโดยเหมาะสมกับลูกค้าที่ต้องการเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาประธานเดิมของมูลหนี้จากอัตราดอกเบี้ยของเงินสกุลหนึ่งมาเป็นอัตราดอกเบี้ยของเงินอีกสกุลหนึ่ง
ลักษณะและโครงสร้าง
เป็นเครื่องมือทางการเงินที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้มีภาระเงินกู้เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศโดยต้องการแปลงภาระอัตราดอกเบี้ยตามทัศนะการคาดการณ์ทิศทางอัตราดอกเบี้ย
- เป็นข้อตกลงทางการเงินที่เป็นพันธะ ในการแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยจากอัตราดอกเบี้ยของเงินสกุลหนึ่ง เป็นอัตราดอกเบี้ยของเงินอีกสกุลหนึ่ง
- เป็นมีการส่งมอบมูลหนี้ระหว่างกันตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ตกลงกันไว้ ในวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของสัญญา
- เป็นมีการส่งมอบดอกเบี้ยระหว่างกันตามสกุลเงินและอัตราดอกเบี้ยที่ได้แลกเปลี่ยนกันไว้ ตามระยะเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา
- เป็นข้อตกลงทางการเงินที่เป็นพันธะ ในการแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยจากอัตราดอกเบี้ยของเงินสกุลหนึ่ง เป็นอัตราดอกเบี้ยของเงินอีกสกุลหนึ่ง
- เป็นมีการส่งมอบมูลหนี้ระหว่างกันตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ตกลงกันไว้ ในวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของสัญญา
- เป็นมีการส่งมอบดอกเบี้ยระหว่างกันตามสกุลเงินและอัตราดอกเบี้ยที่ได้แลกเปลี่ยนกันไว้ ตามระยะเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา
ความเหมาะสมของธุรกรรมกับข้อมูลลูกค้า
- ลูกค้ามีกระแสเงินสด (Cash Flow) ระยะยาวเกินกว่า 1 ปีที่มีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนในปริมาณที่มีความจำเป็นต้องบริหารความเสี่ยง
- ต้องการบริหารความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย โดยมีมุมมองและการคาดการณ์ทิศทางของอัตราดอกเบี้ยที่ชัดเจน
- ลูกค้ามีพื้นฐานทางการเงินและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
- ผู้บริหารมีความรู้ ความเข้าใจในความเสี่ยง ตลอดจนมีความเข้าใจเบื้องต้นในผลิตภัณฑ์อนุพันธ์ที่นำเสนอ
- ต้องการบริหารความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย โดยมีมุมมองและการคาดการณ์ทิศทางของอัตราดอกเบี้ยที่ชัดเจน
- ลูกค้ามีพื้นฐานทางการเงินและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
- ผู้บริหารมีความรู้ ความเข้าใจในความเสี่ยง ตลอดจนมีความเข้าใจเบื้องต้นในผลิตภัณฑ์อนุพันธ์ที่นำเสนอ
ประโยชน์ที่ได้จากการทำธุรกรรม
- ผู้ซื้อจะมีความคล่องตัวในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับ Cash Flow ที่มีอายุมากกว่า 1 ปีโดยสามารถเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยของ Cash Flow จากอัตราดอกเบี้ยเงินสกุลหนึ่งตามสัญญาประธานของมูลหนี้มาเป็นอัตราดอกเบี้ยของเงินอีกสกุลหนึ่งตามที่ต้องการโดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินการน้อยกว่าการแก้ไขสัญญาประธานโดยตรง
ความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการทำธุรกรรม
- Market Risk ความเสี่ยงที่จากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน จนทำให้คู่ค้าเกิดความเสียหาย
- Credit Risk ความเสี่ยงที่คู่ค้าไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาของธุรกรรมได้
- Operation Risk ความเสี่ยงที่เกิดจากการขาดความรู้ ความเข้าใจในรายละเอียดและเงื่อนไขของธุรกรรมรวมถึงการขาดการติดตามข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างทันการณ์
- Legal Risk ความเสี่ยงที่คู่ค้าร้องเรียนต่อ ธปท. / ฟ้องร้องศาล
- Credit Risk ความเสี่ยงที่คู่ค้าไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาของธุรกรรมได้
- Operation Risk ความเสี่ยงที่เกิดจากการขาดความรู้ ความเข้าใจในรายละเอียดและเงื่อนไขของธุรกรรมรวมถึงการขาดการติดตามข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างทันการณ์
- Legal Risk ความเสี่ยงที่คู่ค้าร้องเรียนต่อ ธปท. / ฟ้องร้องศาล
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของผู้ซื้อ
- การขาดความรู้ ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์อย่างเพียงพอ
- การขาดความความระมัดระวังและรอบคอบในการตรวจสอบเอกสารสัญญาก่อนการลงนาม
- การประสานงานภายในระหว่างคู่สัญญาในวันที่จะต้องมีการส่งมอบดอกเบี้ยระหว่างกันตามสัญญา จากความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน
- ผู้ซื้อมีการทำธุรกรรมเกินปริมาณของ Cash Flow ที่มีจริง
- อัตราดอกเบี้ยมีความผันผวนและการประเมินสถานการณ์ แนวโน้มและทิศทางของอัตราดอกเบี้ยผิดพลาดจนก่อให้เกิดความเสียหาย
- การขาดความความระมัดระวังและรอบคอบในการตรวจสอบเอกสารสัญญาก่อนการลงนาม
- การประสานงานภายในระหว่างคู่สัญญาในวันที่จะต้องมีการส่งมอบดอกเบี้ยระหว่างกันตามสัญญา จากความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน
- ผู้ซื้อมีการทำธุรกรรมเกินปริมาณของ Cash Flow ที่มีจริง
- อัตราดอกเบี้ยมีความผันผวนและการประเมินสถานการณ์ แนวโน้มและทิศทางของอัตราดอกเบี้ยผิดพลาดจนก่อให้เกิดความเสียหาย
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของผู้ขาย
- การให้ข้อมูลความรู้ ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์แก่ผู้ซื้อยังมีไม่เพียงพอ
- การขาดความความระมัดระวังและรอบคอบในการตรวจสอบเอกสารสัญญาก่อนการลงนาม
- ความผิดพลาดในการออกเอกสารสัญญา
- การบริหารจัดการเพื่อรองรับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในสถานการณ์ที่อาจมีปัจจัยภายนอก ซึ่งเกิดวิกฤติในตลาดเงินและตลาดทุนและมีความเสียหายเกิดขึ้น
- การขาดการตรวจสอบเอกสารหรือแจ้งให้คู่ค้าทราบถึงปริมาณ Cash Flow ว่าจะต้องมีอย่างเพียงพอต่อการทำธุรกรรม
- การขาดขาดการพิจารณาถึงตัวบุคคล ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจทำธุรกรรม (ต้องเป็นระดับผู้รับผิดชอบสูงสุดด้านการเงินของนิติบุคคล)
- การขาดความความระมัดระวังและรอบคอบในการตรวจสอบเอกสารสัญญาก่อนการลงนาม
- ความผิดพลาดในการออกเอกสารสัญญา
- การบริหารจัดการเพื่อรองรับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในสถานการณ์ที่อาจมีปัจจัยภายนอก ซึ่งเกิดวิกฤติในตลาดเงินและตลาดทุนและมีความเสียหายเกิดขึ้น
- การขาดการตรวจสอบเอกสารหรือแจ้งให้คู่ค้าทราบถึงปริมาณ Cash Flow ว่าจะต้องมีอย่างเพียงพอต่อการทำธุรกรรม
- การขาดขาดการพิจารณาถึงตัวบุคคล ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจทำธุรกรรม (ต้องเป็นระดับผู้รับผิดชอบสูงสุดด้านการเงินของนิติบุคคล)
เอกสารสัญญา
เอกสารที่ต้องลงนามก่อนทำธุรกรรม
เอกสารที่ต้องลงนามก่อนทำธุรกรรม
- ISDA ( International Swaps and Derivatives Association )
หนังสือแต่งตั้งตัวแทนใน การทำธุรกรรม
หนังสือแต่งตั้งตัวแทนใน การทำธุรกรรม
คำเตือน
- สัญญา Cross Currency Swap เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนโดยเป็นธุรกรรมที่เป็นพันธะที่จะต้องยึดถือปฏิบัติ ผู้ทำสัญญาธุรกรรม Cross Currency Swap จึงควรศึกษาและทำความเข้าใจในผลิตภัณฑ์นี้อย่างละเอียดก่อนการประกอบธุรกรรมโดยสามารถติดต่อโดยตรงกับเจ้าหน้าที่กลุ่มการขายผลิตภัณฑ์การบริหารการเงิน ฝ่ายบริหารการเงินของธนาคาร ที่โทรศัพท์หมายเลข 02-2964361-70 หรือ www. krungsri.com
Interest Rate Swap
เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยอีกทางเลือกหนึ่งที่มีระยะเวลาในการชำระคืนมูลหนี้เกินกว่า 1 ปีโดยมีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับลูกค้าที่ต้องการเปลี่ยนลักษณะของอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาประธานเดิมของมูลหนี้จากอัตราดอกเบี้ยลอยตัวมาเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่หรือจากอัตราดอกเบี้ยคงที่มาเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวโดยจะมีความคล่องตัวมากขึ้นและต้นทุนของการทำธุรกรรมน้อยกว่าการเปลี่ยนแปลงสัญญาประธานโดยตรง
ลักษณะและโครงสร้าง
- เป็นเครื่องมือทางการเงินที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงสำหรับผู้มีภาระเงินกู้ในสกุลเงินเดียวกันโดยต้องการแปลงภาระดอกเบี้ยตามทัศนะการคาดการณ์ทิศทางอัตราดอกเบี้ย
- เป็นข้อตกลงทางการเงินที่เป็นพันธะในการแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยจากอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่หรือจากอัตราดอกเบี้ยคงที่เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวของเงินสกุลเดียวกัน
- ไม่มีการส่งมอบมูลหนี้ระหว่างกัน
- มีการส่งมอบดอกเบี้ยระหว่างกันตามอัตราดอกเบี้ยที่ได้แลกเปลี่ยนกันไว้ และระยะเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา
- เป็นข้อตกลงทางการเงินที่เป็นพันธะในการแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยจากอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่หรือจากอัตราดอกเบี้ยคงที่เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวของเงินสกุลเดียวกัน
- ไม่มีการส่งมอบมูลหนี้ระหว่างกัน
- มีการส่งมอบดอกเบี้ยระหว่างกันตามอัตราดอกเบี้ยที่ได้แลกเปลี่ยนกันไว้ และระยะเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา
ความเหมาะสมของธุรกรรมกับข้อมูลลูกค้า
- ลูกค้ามีกระแสเงินสด (Cash Flow) ที่มีอายุเกินกว่า 1 ปีและมีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยในปริมาณที่มีความจำเป็นต้องบริหารความเสี่ยง
- ต้องการบริหารความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย โดยมีมุมมองและการคาดการณ์ทิศทางของอัตราดอกเบี้ยที่ชัดเจน
- ลูกค้ามีพื้นฐานทางการเงินและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
- ผู้บริหารมีความรู้ ความเข้าใจในความเสี่ยง ตลอดจนมีความเข้าใจเบื้องต้นในผลิตภัณฑ์อนุพันธ์ที่นำเสนอ
- ต้องการบริหารความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย โดยมีมุมมองและการคาดการณ์ทิศทางของอัตราดอกเบี้ยที่ชัดเจน
- ลูกค้ามีพื้นฐานทางการเงินและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
- ผู้บริหารมีความรู้ ความเข้าใจในความเสี่ยง ตลอดจนมีความเข้าใจเบื้องต้นในผลิตภัณฑ์อนุพันธ์ที่นำเสนอ
ประโยชน์ที่ได้จากการทำธุรกรรม
- ผู้ซื้อจะมีความคล่องตัวในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยโดยสามารถเปลี่ยนแปลงลักษณะของอัตราดอกเบี้ยจากสัญญาประธานของมูลหนี้ (จากอัตราดอกเบี้ยคงที่เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวหรือจากอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่)โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินการน้อยกว่าการแก้ไขสัญญาประธานโดยตรง
ความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการทำธุรกรรม
- Market Risk ความเสี่ยงที่จากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย จนทำให้คู่ค้าเกิดความเสียหาย
- Credit Risk ความเสี่ยงที่คู่ค้าไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาของธุรกรรมได้
- Operation Risk ความเสี่ยงที่เกิดจากการขาดความรู้ ความเข้าใจในรายละเอียดและเงื่อนไขของธุรกรรมรวมถึงการขาดการติดตามข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างทันการณ์
- Legal Risk ความเสี่ยงที่คู่ค้าร้องเรียนต่อ ธปท. / ฟ้องร้องศาล
- Credit Risk ความเสี่ยงที่คู่ค้าไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาของธุรกรรมได้
- Operation Risk ความเสี่ยงที่เกิดจากการขาดความรู้ ความเข้าใจในรายละเอียดและเงื่อนไขของธุรกรรมรวมถึงการขาดการติดตามข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างทันการณ์
- Legal Risk ความเสี่ยงที่คู่ค้าร้องเรียนต่อ ธปท. / ฟ้องร้องศาล
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของผู้ซื้อ
- การขาดความรู้ ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์อย่างเพียงพอ
- การขาดความความระมัดระวังและรอบคอบในการตรวจสอบเอกสารสัญญาก่อนการลงนาม
- การประสานงานภายในระหว่างคู่สัญญาในวันที่จะต้องมีการส่งมอบดอกเบี้ยระหว่างกันตามสัญญา จากความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน
- ผู้ซื้อมีการทำธุรกรรมเกินปริมาณของ Cash Flow ที่มีจริง
- อัตราดอกเบี้ยมีความผันผวนและการประเมินสถานการณ์ แนวโน้มและทิศทางของอัตราดอกเบี้ยผิดพลาดจนก่อให้เกิดความเสียหาย
- การขาดความความระมัดระวังและรอบคอบในการตรวจสอบเอกสารสัญญาก่อนการลงนาม
- การประสานงานภายในระหว่างคู่สัญญาในวันที่จะต้องมีการส่งมอบดอกเบี้ยระหว่างกันตามสัญญา จากความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน
- ผู้ซื้อมีการทำธุรกรรมเกินปริมาณของ Cash Flow ที่มีจริง
- อัตราดอกเบี้ยมีความผันผวนและการประเมินสถานการณ์ แนวโน้มและทิศทางของอัตราดอกเบี้ยผิดพลาดจนก่อให้เกิดความเสียหาย
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของผู้ขาย
- การให้ข้อมูลความรู้ ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์แก่ผู้ซื้อยังมีไม่เพียงพอ
- การขาดความความระมัดระวังและรอบคอบในการตรวจสอบเอกสารสัญญาก่อนการลงนาม
- ความผิดพลาดในการออกเอกสารสัญญา
- การบริหารจัดการ เพื่อรองรับความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยในสถานการณ์ที่อาจมีปัจจัยภายนอก ซึ่งเกิดวิกฤติในตลาดเงินและตลาดทุนและมีความเสียหายเกิดขึ้น
- การขาดการตรวจสอบเอกสารหรือแจ้งให้คู่ค้าทราบถึงปริมาณ Cash Flow ว่าจะต้องมีอย่างเพียงพอต่อการทำธุรกรรม
- ขาดการพิจารณาถึงตัวบุคคล ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจทำธุรกรรม (ต้องเป็นระดับผู้รับผิดชอบสูงสุดด้านการเงินของนิติบุคคล)
- การขาดความความระมัดระวังและรอบคอบในการตรวจสอบเอกสารสัญญาก่อนการลงนาม
- ความผิดพลาดในการออกเอกสารสัญญา
- การบริหารจัดการ เพื่อรองรับความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยในสถานการณ์ที่อาจมีปัจจัยภายนอก ซึ่งเกิดวิกฤติในตลาดเงินและตลาดทุนและมีความเสียหายเกิดขึ้น
- การขาดการตรวจสอบเอกสารหรือแจ้งให้คู่ค้าทราบถึงปริมาณ Cash Flow ว่าจะต้องมีอย่างเพียงพอต่อการทำธุรกรรม
- ขาดการพิจารณาถึงตัวบุคคล ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจทำธุรกรรม (ต้องเป็นระดับผู้รับผิดชอบสูงสุดด้านการเงินของนิติบุคคล)
เอกสารที่ต้องลงนามก่อนทำธุรกรรม
- ISDA ( International Swaps and Derivatives Association )
หนังสือแต่งตั้งตัวแทนใน การทำธุรกรรม
หนังสือแต่งตั้งตัวแทนใน การทำธุรกรรม
คำเตือน
- สัญญา Interest Rate Swap เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยโดยเป็นธุรกรรมที่เป็นพันธะที่จะต้องยึดถือปฏิบัติ ผู้ทำสัญญาธุรกรรม Interest Rate Swap จึงควรศึกษาและทำความเข้าใจในผลิตภัณฑ์นี้อย่างละเอียดก่อนการประกอบธุรกรรมโดยสามารถติดต่อโดยตรงกับเจ้าหน้าที่กลุ่มการขายผลิตภัณฑ์การบริหารการเงิน ฝ่ายบริหารการเงินของธนาคาร ที่โทรศัพท์หมายเลข 02-2964361-70 หรือ www. krungsri.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น